โครงงาน ขนมสาคู

โครงงาน
เรื่อง ขนมสาคู


จัดทำโดย
นางสาว สุภานันท์   ศรีปวีณวัชร์


โรงเรียนราชินีบูรณะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานรายวิชาการศึกษาเเละการค้นคว้า
ประเภทโครงงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย



เกี่ยวกับโครงงาน

ชื่อโครงงาน (การศึกษาเเละค้นคว้า)  :  ขนมสาคู
ประเภทโครงงาน : โครงงานเพื่ออาชีพ
ผู้จัดทำ : นางสาว สุภานันท์  ศรีปวีณวัชร์
ที่ปรึกษา : คุณครู เกรียงไกร ทองชื่นจิต


บทคัดย่อ


ในปัจจุบันการทำขนมหวานสาคูถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ทำขนมหวานสาคูเพราะในปัจจุบัน ได้มีการทำขนมหวานสาคูเพื่อเป็นรายได้เสริมมีการแพร่หลายไปพร้อมกับวัฒนธรรมไทย เนื่องจากคนในปัจจุบันการทำขนมหวานสาคูได้มีการทำขนมหวานสาคูเป็นเวลายาวนานแล้วคนสมัยก่อนนั้นตะกร้าถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็น คนสมัยก่อนทำขนมหวานสาคูเอาไว้กินแค่ในครอบครัว หนึ่งและได้รวบรวมไว้ไนโครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจ ศึกษาและแนวทางต่อไป

บทที่1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มา ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัว
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทำให้คนในปัจจุบันได้รู้จักวิธี เเละความรู้พื้นฐานในการทำขนมหวานสาคู
2. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังเอาไว้และพัฒนาให้แปลกใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อนำขนมหวานสาคูไปจำหน่ายให้เกิดรายได้  สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้

บทที่2เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ความรู้เกี่ยวกับโครงงาน

        โครงงานหมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั่วๆ ไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้ 
จากคำกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า
     โครงงานคือการทำชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่ผู้ศึกษาสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้นโดยมีการให้คำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้ ขั้นตอนแรกของการทำงาน จะต้องมีการวางแผนกันภายในกลุ่มและปรึกษาหารือกันเพื่อเลือกชิ้นงานที่สนใจโดยต้องมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน   ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้    จนได้ข้อสรุป
       ข้าวหลามถือว่าเป็นอาหารที่รู้จักกันมานานพอสมควรซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน นอกจากจะเป็นอาหารแล้วในอดีตถึงปัจจุบันคนนครปฐมยังมีค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวกับข้าวหลามอีกด้วย
       ดังเช่นสมัยก่อนผู้ที่ไปเยี่ยมญาติหรือไปหาผู้ใหญ่ต้องซื้อข้าวหลามนครปฐมไปฝากทุกครั้ง  ถือเป็นสัมพันธภาพที่ยั่งยืนดั่งข้าวเหนียว  นอกจากนี้ยังมองเห็นถึงความเป็น คนไทยที่ไปมาหาสู่กันมักจะนำของฝากติดมือ ไปด้วยเสมอ และคำว่า “ ข้าวหลาม” ก็เป็นคำ ที่ปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดนครปฐมตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน

บทที่ 3           วัสดุอุปกณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์และส่วนผสม

   สาคูเม็ดเล็ก 1 ถ้วย
    น้ำมะพร้าวอ่อน  (มะพร้าวน้ำหอม) 2 ถ้วย
    น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย
    น้ำตาลทรายขาว 1 + 1/4 ถ้วย
    น้ำใบเตยคั้น 3 ชต.
    ข้าวโพดเหลืองต้มสุก ฝานเอาแต่เม็ด 1/2 ถ้วย
    เผือกหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ต้มสุก  1/2 ถ้วย
    มะพร้าวอ่อน หั่นเป็นเส้น  1/2 ถ้วย
    ใบเตยล้างสะอาดมัดรวมกัน 3 ใบ
    กะทิอัมพวา 1 กล่อง
    แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ชช.
    เกลือสมุทรป่น 1/2 ชช. 

วิธีทำ

อันดับแรก เราจะมาเตรียมเม็ดสาคูกันก่อนนะคะ  โดยให้เราเอาสาคูใส่กระชอนตาถี่ๆ ค่ะ  แล้วเทน้ำประมาณ  1-2 ถ้วย ลงไปให้ทั่วเม็ดสาคู
พอสาคูเปียกน้ำทุกเม็ดแล้ว  ก็หยุดเทน้ำ  แล้วพักเม็ดสาคูไว้ในกระชอนนะคะ 
จากนั้นให้เราเทน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำลอยดอกมะลิใส่ลงในหม้อใบย่อม ๆ พร้อมกับใบเตยที่เราล้างสะอาด และมัดรวมกันเรียบร้อยแล้วนำหม้อขึ้นตั้งไฟ โดยใช้ไฟกลางค่ะ พอน้ำในหม้อเดือดจัดก็เทสาคูใส่ลงไปเลยนะคะ   (ต้องรอให้น้ำเดือดจัดจริงๆ ก่อน ค่อยใส่สาคูลงไป  ไม่งั้นหากน้ำแค่ร้อนๆ แล้วใส่สาคูลงไปเลย สาคูจะละลายเป็นแป้งเปียกค่ะ)  ใช้ไม้พายหรือทัพพีเขี่ยๆ ให้สาคูกระจายตัวออกจากกันสักหน่อย แล้วก็คนก้นหม้อเป็นระยะ เพื่อไม่ให้สาคูติดก้นหม้อนะคะ  พอเม็ดสาคูเริ่มสุก  (ใส และเหลือไตสีขาวแค่นิดหน่อย)  ก็ให้ใส่น้ำตาลลงไปเลยค่ะ   แล้วคนให้น้ำตาลละลายพอน้ำตาลละลายดี จะเห็นว่าสาคูในหม้อของเราเริ่มมีความใสและวาว   ก็แต่งกลิ่น+สี ด้วยการใส่น้ำใบเตยคั้นลงไปสัก 3 ชต.  แล้วคนให้เข้ากันดีนะคะ 
เพิ่มเติม :: วิธีคั้นน้ำใบเตยคือ หั่นใบเตยแก่ที่ล้างสะอาดแล้วสัก 5-6 ใบเป็นชิ้นเล็ก เอาใบเตยใส่ครก โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำลงไปสัก 4 ช้อนโต๊ะ แล้วคั้นเอาไว้แต่น้ำค่ะ หรือไม่อย่างนั้นก็เอาใบเตยที่หั่นละเอียดแล้วใส่ลงในโถปั่นน้ำผลไม้ ใส่น้ำเปล่าลงไปพอให้ปั่นได้  แล้วปั่นจนใบเตยละเอียด ก็กรองเอาไว้แต่น้ำเช่นเดียวกันค่ะพอน้ำใบเตยเข้ากับสาคูดีแล้ว ก็ใส่มะพร้าวอ่อน ข้าวโพด และเผือกลงไป    (ใส่แปะก๊วยเชื่อม วุ้นมะพร้าว ลูกชิด .. เพิ่มได้) คนทุกอย่างให้เข้า  และรอเดือดเบา ๆ อีกทีเป็นใช้ได้ ปิดไฟแล้วยกหม้อลงจากเตาได้เลยค่ะต่อมาเราจะมาทำหน้ากะทิที่เค็ม ๆ กันนะคะ  ก็ให้เราเทกะทิใส่ลงในหม้อใบเล็ก ๆ สักใบค่ะแล้วใส่แป้งสาลีกับเกลือป่นตามลงไป   คนให้เข้ากันดี นำไปตั้งบนเตาไฟ คนๆๆๆ จนกระทั่งแป้งสุกใส กะทิมีข้นขึ้น  ก็ปิดไฟและยกลงจากเตาได้เลยค่ะ ถึงเวลาทานก็ตักสาคูเปียกของเราใส่ถ้วยสวย ๆ สักใบ แล้วตักหัวกะทิราดไปสัก 2-3 ชต. หรือมากน้อยตามความเค็มที่ชอบ 

                                                                   บทที่4

                                                          จากการศึกษาค้นคว้า

จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำการทำขนมหวานสาคูผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการการทำขนมหวานสาคูที่ถูกวิธี และได้ขนมหวานสาคูอย่างสมบรูณ์แบบ

บทที่ 5สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ

สรุป

การทำโครงงาน   เรื่องขนมหวานสาคูได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำข้าวต่างๆ
ขนมหวานสาคูรสชาติต่างๆ  ได้นำไปให้บุคคลต่างๆ รับประทานและสำรวจความพึงพอใจ ผลสรุปโดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดี เมื่อแยกเป็นรายกลุ่มย่อย  ปรากฏผล  ดังนี้  ขนมหวานสาคูรสโกโก้  อยู่ในระดับ ปานกลางขนมหวานสาคูรสชาติชาเขียว  อยู่ในระดับดี  ขนมหวานสาคูรสชาติลูกเดือย  อยู่ในระดับ ดี  ขนมหวานสาคูรสชาติถั่วดำ
อยู่ในระดับ ดีมาก 
ขนมหวานสาคูรสชาติชาเย็น อยู่ในระดับ ดี ขนมหวานสาคูรสชาติกะทิ อยู่ในระดับ ดีมาก ขนมหวานสาคูรสชาติอัญชัน อยู่ในระดับ ดี ข้าวหลามรสชาติธัญพืช อยู่ในระดับ ดี

อภิปราย               

  สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
  ใช้ประโยชน์จากรูปเล่นโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

    ในการทำโครงงานเรื่องการทำขนมหวานสาคูในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต้างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
  1.รู้และนำไปปฎิบัติได้อย่างถูกวิธี
  2.ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงานเพื่อการศึกษาต่อไป
  3.นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกียวข้อง
  4.ได้เรียนรู้และฝึกทักษะขนมหวานสาคู

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มารยาทในการพูด

เทศกาลTihar